top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนDent Ayutthaya

การทำฟันในช่วงการระบาด COVID-19

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินบล็อคกลุ่มงานทันตสาธารณสุข สสจ.อยุธยาขอเขียนสรุปการให้บริการทันตกรรมในระยะต่างๆ ของช่วงการระบาด อ้างอิงจากประกาศกรมการแพทย์และ"คู่มือแนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19" ซึ่งมีประกาศของมาหลักๆ 3 ฉบับ สามารถดูเอกสารประกาศได้จากเฟสบุ๊คเพจของทันตแพทยสภา

เบื้องต้นเราจะแบ่งมาตรการตามสถานการ์การระบาดเป็น 4 ระดับ ได้แก่


ระดับ 1 สีเขียว

การระบาดทั่วโลกได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

มีการใช้วัคซีนความคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ระดับ 2 สีเหลือง

พื้นที่การระบาดได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีการติดเชื้อรายใหม่ 28วัน


ระดับ 3 สีส้ม

พื้นที่การระบาดได้รับการควบคุม มีการติดเชื้อรายใหม่ต่ำ


ระดับ 4 สีแดง

มีการระบาดเป็นวงกว้าง มีการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง


ซึ่งในปัจจุบัน แต่ละจังหวัดก็จะประเมินระดับมาตรการแตกต่างกันตามการระบาดแต่ละพื้นที่

เช่นในเดือนมกราคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประเมินเป็นระดับ 3 สีส้ม ส่วนจังหวัดอ่างทองที่มีการระบาดติดเชื้อจำนวนมากจากเคสบ่อนไก่ได้ประเมินเป็นระดับ 4 สีแดง

ดังนั้น การให้บริการทางทันตกรรมก็จะแตกต่างกันตามภาพ

โดยแต่ละระดับมาตรการ จะให้บริการทางทันตกรรมแตกต่างกันไป โดยแบ่งงานทันตกรรมเป็น 3 แบบ

ได้แก่

1. Emergency case งานฉุกเฉิน

=ภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต


2. Urgent case งานเร่งด่วน

=ภาวะที่ควรได้รับการดูแลทันที โดยยึดหลัก minimally invasive


3 Elective case งานไม่เร่งด่วน

=ภาวะการเจ็บป่วยที่สามารถรอได้

รายละเอียดตามภาพ

สำหรับสถานพยาบาลควรมีแบบคัดกรองความเสี่ยงผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษา


สรุปแนวทางเบื้องต้นที่ควรมีในคลินิกทันตกรรมที่จะเปิดให้บริการและคำแนะนำสำหรับผู้มารับบริการ(แบบย่อ)
  • ควรมีระบบการนัดหมาย ล่วงหน้าทางโทรศัพท์/ Application

  • ควรมีช่องทางให้ผู้ป่วยปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปาก กรณีฉุกเฉิน/เร่งด่วนกรณีผู้ป่วยมีข้อสงสัยและเพื่อลดความ เสี่ยงจากการเดินทางมารับบริการ เช่น ระบบปรึกษาทางไกล ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น

  • คัดกรองผู้ป่วยและญาติ/ผู้ติดตาม ก่อนให้การรักษาทางทันตกรรม โดยทำการซักประวัติอย่างละเอียด และวัดไข้ แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติ/ผู้ติดตาม สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะที่รอรับการบริการ

  • นอกจากนี้ควรมีการคัดกรองผู้ให้บริการก่อนเริ่มงานแต่ละวันด้วย

  • แนะนำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาเพียงคนเดียว หรือในกรณีที่ต้องมีผู้ดูแล/ผู้ปกครอง ควรมีผู้ติดตามเพียง 1-2 คน

  • ควรมีการจัดแยกพื้นที่การให้บริการตามความเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่กระจายเชื้อออกเป็น 3 บริเวณ คือ

  • 1) พื้นที่พักหรือสำนักงานของเจ้าหน้าที่ พื้นที่พักรอรับการรักษา

  • 2) พื้นที่การรักษาที่ไม่เกิดหรือเกิดละอองฝอยจาก หัตถการในระดับต่ำ

  • 3) พื้นที่การรักษาที่เกิดละอองฝอยจากหัตถการในระดับสูง

  • นอกจากนี้ควรจัดบริเวณนั่งรอให้โล่งและสามารถเว้นระยะห่างได้เหมาะสม

  • ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการควรหมั่นล้างมือให้สะอาด สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

  • ควรมีการทำความสะอาดพื้นผิว ที่มีการสัมผัสบ่อยๆด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

  • พื้นที่การให้บริการอื่นๆ เช่น จุดนัด จุดชำระค่ารักษา ให้เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวทุก 1 ชั่วโมงและมี แอลกอฮอล์เจลสำหรับทำความสะอาดมือในทุกจุดบริการ

  • การเตรียมห้องก่อนการรักษา

    • 1. ในห้องที่ทำการรักษา ให้เอาสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกให้หมด และให้ทันตแพทย์บันทึกเวชระเบียนนอกห้องที่ ให้การรักษาผู้ป่วย

    • 2. ปกคลุมพื้นผิวบริเวณส่วนสัมผัสต่างๆ ด้วยวัสดุที่ใช้แล้วทิ้ง เช่น plastic wrap

    • 3. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ทำฟันที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองน้ำเช่นการเป่าลม, การใช้หัวกรอ, การใช้ เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ในพื้นที่การรักษาที่แยกไม่ให้มีการฟุ้งกระจาย

  • ให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก 0.2% povidone iodine โดยให้อมกลั้วในช่องปาก 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง โดยมีข้อห้ามใช้ใน

    • ผู้ป่วยที่มีการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

    • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ไอโอดีน

    • ผู้ป่วยโรคไต

    • ผู้ป่วยตั้ง ครรภ์

    • ผู้ป่วยในระยะให้นมบุตร

    • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

  • หากใช้น้ำยาบ้วนปากดังกล่าวไม่ได้ ให้พิจารณาใช้น้ำยา บ้วนปาก 1% hydrogen peroxide โดยมีข้อควรระวัง คือ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองค่อนข้างสูง จึงห้ามใช้ใน ผู้สูงอายุ ผู้ที่ปากแห้งน้ำลายน้อยหรือมีแผลในช่องปาก ผู้ป่วยที่มีแผลถอนฟัน

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ เช่น ผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยสูงอายุ ให้ใช้ผ้าก๊อซหรือสำลีชุบ น้ำยาบ้วนปากเช็ดภายในช่องปากแทนการบ้วนน้ำยา

  • ทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองตามแนบท้ายประกาศเรื่อง ชนิดของการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทางทันตกรรม **ทั้งนี้แนวทางอาจมีการปรับตามความพร้อมหรือนโยบาย ตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน

  • แนวทางการเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันตนเองทางทันตกรรม ให้พิจารณาตามแนบท้ายแนวทางการปฏิบัติ /การใช้ อุปกรณ์ตามหัตถการทางทันตกรรม

บริเวณที่ให้การรักษา
  • ควรการควบคุมทิศทางการไหลของอากาศภายในห้อง โดยวางตำแหน่งหัวจ่ายลมเย็นให้ลมผ่านบริเวณสะอาด ต้องการความสะอาดมากกว่าไปยังที่สะอาดน้อยกว่า

  • **ทั้งนี้แต่ละสถานพยาบาล/หน่วยงาน สามารถปรับระบบระบายอากาศ ได้ตามความเหมาะสมกับระดับ ความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วย ประเภทของหัตถการภายในห้อง บริบทด้านโครงสร้างและ ความพร้อมของแต่ละแห่ง โดยปรึกษาวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปรับอากาศ โดยสามารถ พิจารณาแนวทาง ดังนี้

  • 1) ถ่ายเทอากาศในห้องออกข้างนอกให้ได้ 6-12 เท่าของขนาดห้อง ภายใน 1 ชั่วโมง หรือ

  • 2) ถ่ายเทอากาศในห้องออกข้างนอกให้ได้อย่างน้อย 2 เท่า และมีระบบฟอกอากาศในห้องด้วย HEPA filter 10 เท่า

  • #นอกจากนี้สามารถดูแนวทางการปรับปรุงห้องเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กองแบบแผน กดดูที่นี่ค่ะ

  • เช็ดทำความสะอาดด้วยสารฆ่าเชื้อ (surface disinfectant) ที่เหมาะสมสำหรับพื้นผิวนั้นๆ ในความเข้มข้น และระยะเวลาที่สามารถทำลายเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้ หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย

  • ในกรณีที่ต้องให้การรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องกันหลายราย ควรให้มีการระบายอากาศในห้องทำฟัน หรือเว้นระยะ เวลาไว้อย่างน้อย 30 นาที และทำความสะอาดพื้นผิว ก่อนเริ่มการรักษาผู้ป่วยรายต่อไป

แนวทางพื้นฐานเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม ใช้ร่วมกับ new normal ทางทันตกรรม

แนวทางเบื้องต้นด้านบนเป็นสรุปแบบย่อเพื่อให้ทันตบุคลากรและประชาชนเข้าใจการทำฟันในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 มากขึ้น ท่านสามารถกดอ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ทางลิ้งค์ที่เราได้แทรกเอาไว้ให้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณแหล่งที่มาเนื้อหาจากคู่มือที่แทรกลิ้งค์ไว้ทั้งหมดค่ะ




ดู 166 ครั้ง0 ความคิดเห็น
โพสต์: Blog2_Post
bottom of page